คุยเรื่องบ่นประชดประชันตามประสาคน ‘แอ็บส์แต็ก’ กับศิลปินนามธรรม 'กาแฟ - ถวิกา สว่างวงศากุล'

Post on 3 July

พอเจอเรื่องน่าหงุดหงิดรำคาญใจ ใคร ๆ ก็ชอบบ่นกันทั้งนั้น แต่ ‘ที่ลง’ หรือพื้นที่ให้บ่นของแต่ละคนอาจไม่เหมือนกัน บางคนอาจเป็นสายโทรศัพท์หาเพื่อน บางคนเป็นสเตตัสเฟสบุ๊ค หรือบางคนอาจเป็นเบิร์นบุ๊คที่บ่นเสร็จก็เผาทิ้งตามประสาตัวแม่

แต่สำหรับศิลปินผู้หลงใหลในศิลปะนามธรรมหรือ ‘Abstract’ อย่าง กาแฟ - ถวิกา สว่างวงศากุล พื้นที่ให้บ่นของเธอคือเฟรมผ้าใบ ที่เปิดให้เธอได้ใส่อารมณ์ผ่านฝีแปรง ระบายถ้อยคำในหัวผ่านตัวอักษร และเชื่อมโยงกับสิ่งรอบข้างด้วยงานคอลลาจ จนเป็นศิลปะเชิงนามธรรมที่เล่าความรู้สึกภายในออกมา

สำหรับใครหลายคน ผลงานไร้เสียงพูดของเธอกลับตะโกนความขบถออกมาให้รู้สึกจนสะท้าน อาจเพราะน้ำเสียงโมโหเล็ก ๆ ที่พูดเรื่องตรงหัวใจ หรือเพราะเรื่องราวในนั้น ที่แม้ว่าศิลปินจะยืนยันว่าเป็นเรื่องตัวเอง แต่หลายครั้งที่เรื่องราวเหล่านั้นกลับกลายเป็นประสบการณ์ที่หลายคนเชื่อมกับตัวเองได้ไม่ยาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเผชิญหน้ากับการเติบโตเป็นผู้ใหญ่ หรือความไม่พอใจในบรรยากาศของสังคมอันขมุกขมัว

เรื่องบ่นของกาแฟซ่อนอยู่ในเส้นสายสไตล์แอ็บสแตรกต์ ในภาพเก่าที่เธอนำมาปะติดและทาสีทับใหม่ รวมไปถึงในบทสนทนานี้ ที่เธอมานั่งเล่าให้เราฟังถึงวิธีการดึงความหงุดหงิด รำคาญ โกรธ โมโห ออกมาสร้างเป็นผลงานศิลปะ

การบ่นของศิลปินเป็นอย่างไร? แล้วศิลปินเขาบ่นอะไรกัน? คลิกไปอ่านในบทสัมภาษณ์นี้กันได้เลย

Wear Your Heart on Your Paper

Wear Your Heart on Your Paper

ถวิกา สว่างวงศากุล
Thavika Savangwongsakul

ถวิกา สว่างวงศากุล
Thavika Savangwongsakul

“เขาเรียกว่าหัวขบถ แต่เราไม่รู้ด้วยซ้ำว่าหัวขบถคืออะไร” กาแฟเกริ่นอธิบายความเป็นเธอที่ได้รับรู้ผ่านสายตาของคนอื่น

“ตอนแรกเราชอบวาดรูปคน รูปฟิกเกอร์ต่าง ๆ ในงานของเราจะต้องมีคนหรือไม่ก็สัตว์ สิ่งของ อะไรสักอย่างอยู่ในนั้น

“ตอนปี 2 อาจารย์ให้เราทำงานแอ็บสแตร็ก เป็นงานในวิชาสีน้ำมันตอนปี 2 ที่ผ่านมาเขาจะให้วาดตามแบบเป็นภาพหุ่นนิ่ง (Still life) มาตลอด แล้วอยู่ดี ๆ ก็แนะนำให้เราทำงานแอ็บส์แตร็ก ซึ่งเราไม่เคยทำมาก่อน ก็เลยรู้สึกโกรธมากว่า อยู่ดี ๆ ทำไมมาเปลี่ยน เราก็เลยคิดว่า ได้ ทำเป็นแนวโมโหก็ได้ จนทำออกมาเป็นผลงานที่ชื่อว่า Can’t Breathe” และนั่นคือจุดเริ่มต้นของตัวร้าย…เอ๊ย! เส้นทางศิลปินของกาแฟ

Can’t Breathe

Can’t Breathe

เมื่อถามว่าทำไมงานนามธรรมถึงโดยเส้นศิลปินที่ชื่อว่ากาแฟ คำตอบที่ได้รับก็คือ “ตอนนี้เราแค่อยากบ่น”

“เมื่อลองกลับมามองดูดี ๆ ก็พบว่าเราชอบทำงานที่เกี่ยวกับเรื่องของตัวเอง เพราะรู้สึกว่าสื่อสารออกมาได้ดี แล้วก็รู้สึกว่าโคตรจริงใจ คนอื่นอาจจะไม่เก็ต แต่เราไม่ค่อยสน ต่อให้เขา (คนดู) ไม่เชื่อด้วยซ้ำว่างานแอ็บสแตร็กของเรามันมีความหมายในตัวมัน มันสื่ออะไรที่ลึกซึ้ง เราก็จะทำแบบที่เรารู้

“เราชอบทำงานที่เล่าเรื่องตัวเอง บ่นเรื่องตัวเอง (Subjective) บางคนอาจจะเชื่อมโยงกับงานเราได้ บางคนอาจจะไม่ เราก็ไม่ได้อะไร อาจจะแค่รู้เฉย ๆ ก็พอไม่ต้องรีเลทก็ได้ แต่ถ้างานเราทำให้เขารู้สึกได้ ก็ดีใจเหมือนกัน

“อย่างงานซีรีส์ Young Adult เราพูดถึงช่วงเปลี่ยนผ่าน (transition) ช่วงนี้ว่าเรากำลังจะต้องเป็นผู้ใหญ่แล้วนะ เรารู้สึกว่าเมนส์ที่พูดถึงในงานก็ไม่ได้พูดถึงร่างกายการที่เป็นผู้หญิง แต่พูดถึงปัญหาที่บางคนเผชิญ เราเลือกทุกอย่างในชีวิตไม่ได้ แต่ต้องทนอยู่กับมัน งานเลยชื่อว่า ‘I didn’t get to choose’ ทุกคนก็อาจจะเจอปัญหาแบบนี้แต่เป็นเรื่องครอบครัว เลือกไม่ได้แต่ก็ต้องทนหรือหาวิธีให้มันโอเคขึ้น

“ทุกคนก็มีปัญหาไม่เหมือนกัน ต่อให้เป็นหัวข้อเดียวกันมันก็จะมีความยิบย่อยที่สุดท้ายก็ไม่เหมือนกันอยู่ดีก็เลยพูดเรื่องนั้น

“ช่วงอายุนี้ เราชอบแนวนี้ถนัดแนวนี้ก็ยังอยากทำแบบนี้ไปก่อน แต่วันนึงก็อยากลองอะไรใหม่ ๆ ที่กระแทกหน้าคนอื่นตั้งแต่เห็นบ้าง ในอนาตตก็อาจจะทำ มันคืออยู่ที่ว่าช่วงเวลานั้นเราจะโมโหแค่ไหน อยากตะโกนแค่ไหน แต่ตอนนี้เราแค่อยากบ่น เหมือนพูดไปเรื่อย ๆ คุยไปเรื่อย ๆ เหมือนกับว่าไม่ได้เป็นความเรียง (essay) แต่เป็นบทสนทนา คุย ๆ แลกเปลี่ยนความคิดกันมากกว่า

“ตัวอักษรที่เขียนเยอะ ๆ ไม่ได้อยากให้ทุกคนมาโฟกัสว่าเขียนอะไรแล้วจะมีความหมายอย่างนั้น มันเป็นส่วนหนึ่งของงานที่ให้รู้ว่า อ๋อ อีนี่ขี้บ่น ไม่ต้องมาอ่านก็ได้ หรือไปอ่านก็ได้ แต่ไม่ต้องรู้สึกโฟกัสว่านี่คือความหมายงานจริง ๆ”

ถวิกา สว่างวงศากุล
Thavika Savangwongsakul

ถวิกา สว่างวงศากุล
Thavika Savangwongsakul

Shenanigans

Shenanigans

บ่น ๆ ประชดประชันบนสื่อผสมตามอารมณ์ศิลปิน

“มี 2 ซีรีส์ที่ไป Hotel Art Fair ชื่อว่า Shenanigans กับ Wear Your Heart on Your Paper งาน Shenanigans เป็นงานทำบนแผ่นไม้ ช่วงนั้นงานจะชอบประชดประชันมาก ๆ พูดเรื่องที่ว่า คนเราแค่ได้รับความสนใจจากคนอื่น ต่อให้เป็นเรื่องดีหรือไม่ดี แค่นั้นก็ประสบความสำเร็จแล้ว แค่ได้รับแสงอะไรสักอย่าง เดี๋ยวมันก็ไปต่อเองสักทาง
.
“ส่วน Wear Your Heart on Your Paper จะทำบนกระดาษ เป็นงานส่งอาจารย์ที่ให้หัดทำเป็นซีรีส์ต่อเนื่องหนึ่งชิ้นทุก ๆ สองอาทิตย์ เราเลยทำเรื่องอารมณ์ที่รุนแรงที่สุดในช่วงอาทิตย์นั้น คือในเวลาสองอาทิตย์มันจะมีเวลาให้เราหงุดหงิดหรือรำคาญบ่อยมาก เพราะเราเป็นคนที่เซนซิทิฟสุด ๆ งานส่วนใหญ่จะมาจากรวามหงุดหงิด รำคาญ โกรธ โมโห จะไม่ค่อยมีความสุข เหมือนเป็นความรู้สึกที่รุนแรงที่สุดในอาทิตย์นั้น
.
“พอเราทำงานเกี่ยวกับอารมณ์ เราเลยเลือกจะทำงานกับสื่อผสม (Mix Media) เพราะเรารู้สึกว่า แค่สีอะคริลิคมันไม่เพียงพอสำหรับการแสดงอารมณ์ของเราอีกต่อไปแล้ว บางทีเราก็อยากได้ความฟุ้งของสีพาสเทล เพราะเรารู้สึกว่าอารมณ์มันสื่อได้ผ่านฝีแปรงที่วาดลงไปบนงาน หรือบางทีอาจจะเป็นแค่ Mark Making ที่เราเอานิ้วถูชาโคลแล้วได้เป็นเส้นต่าง ๆ
.
“มันก็จะมีความรุนแรงหรือความไปเรื่อยที่ทำอยู่บนกระดาษ เหมือนถ้าเรารู้สึกรำคาญก็จะวาดเป็นรูปเส้นหงิก ๆ ไปเรื่อย ๆ เพราะรู้สึกรำคาญ แต่ถ้าเป็นอารมณ์โกรธคนก็จะดูชัดสุด
.
“งานที่มีคอลลาจรูปมาร์ลโบโรชื่อ Perspective ก็ไม่ได้พูดถึงบุหรี่ แต่พูดถึงมุมองที่เรามีต่อบุหรี่ เราเรียนในเรียนโรงเรียนหญิงล้วนมา ซึ่งที่นั่นก็ค่อนข้างแอนตี้บุหรี่ เราก็ไม่ชอบเหมือนกัน ทุกวันนี้ก็ยังไม่ได้ดูด แต่มุมมองมันเปลี่ยนไป ไม่ได้เป็นขาวดำ มันเป็นเรื่องส่วนบุคคล เราก็ไปตัดสินไม่ได้ โอเค มันไม่ดีต่อสุขภาพ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเขาเป็นคนที่แย่ ก็พูดถึงมุมมองว่าสักวันมันเปลี่ยนไป

Wear Your Heart on Your Paper

Wear Your Heart on Your Paper

Wear Your Heart on Your Paper

Wear Your Heart on Your Paper

Wear Your Heart on Your Paper

Wear Your Heart on Your Paper

Wear Your Heart on Your Paper

Wear Your Heart on Your Paper

ให้ศิลปะเป็นพื้นที่แห่งการแสดงออก

“ในงานทดลองชิ้นแรกของซีรีส์ Shenanigans คืองานที่พูดว่า แค่ได้รับความสนใจ ต่อให้จะดีหรือไม่ แค่นั้นก็ถือว่าสำเร็จลุล่วงแล้ว เราเอารูปเก่าในห้องเก็บของที่บ้านมาทำ ตอนที่จะเอามาทุกคนในบ้านก็กังวลมากว่า ไปขอคนนู้นคนนี้เขาหรือยัง บ้านเราอยู่กันหลายคนเป็นบ้านคนจีน เขาก็จะพูดว่า ไปถามคนนู้นคนนี้หรือยัง ไปถามเขาว่าเขาให้หรือเปล่า พอเราไปถามเขา เขาก็บอกว่าจำไม่ได้ว่าของใคร จะเอาไปทำอะไรก็ทำไปเถอะ

“เราก็คิดว่าทีตอนมันอยู่ในห้องเก็บของไม่เห็นมีใครสนใจ แต่พอเราจะเอาไปทำถึงต้องไล่ถาม มันก็ดูเก่าเก็บอยู่ในซอก จนเราไม่คิดว่าเขาจะเอามาแขวนหรือทำอะไรแล้ว ทำแล้วก็รู้สึกว่า พอทำเสร็จ เขาถึงมาชื่นชมกัน ตัวผู้หญิงในรูปเก่าที่มันซีดจนเหลือง เราก็ลงสีใหม่ แค่ช่วงโพรเซส เราเอารูปไปไล่ถามทุกคนว่ารูปนี้เป็นของใคร ทุกคนก็เริ่มสนใจแล้ว มันก็เหมือนงานชิ้นนึงที่เกี่ยวข้องกับคอนเซปต์ที่เราพูดว่า แค่ได้รับความสนใจก็ประสบความสำเร็จแล้ว ต่อให้ดีหรือไม่ สุดท้ายแล้วสิ่งที่คนรอดูก็คือดูว่าเสร็จหรือยัง เสร็จแล้วเป็นยังไง เท่านั้นล่ะ

“วงการศิลปะไทย ก็แค่อยากให้ทุกคนเข้าใจความแตกต่างของแต่ละคน ว่าการที่เราทำคนละแนวกันไม่ได้หมายความว่าเราเก่งกว่าหรือเขาเก่งกว่า เทสต์แต่ละคนไม่เหมือนกัน ความชอบแต่ละคนไม่เหมือนกัน การทำงานแต่ละอย่างคือทุกคน ทั้งผู้ดูและตัวศิลปินเองมันก็เป็นเรื่องปัจเจก คุณอยากทำเรื่องอะไรก็ทำ เขาอยากรู้เรื่องอะไรก็เลือกในสิ่งที่เขาอยากรู้ แค่เดินคนละเส้นทางแต่ไปในหมวดศิลปะเหมือนกัน ไม่ต้องเข้าใจกันก็ได้ ไม่ชอบก็ไม่ชอบ แต่ไม่ต้องไปกดเขา เดี๋ยวนี้คนก็ดูงานศิลปะเยอะขึ้น มันก็พัฒนาไปอยู่แล้ว ก็เห็นอะไรมากขึ้น ต่อให้เขาจะไปถ่ายรูปเขาก็ได้ไปดูด้วยตาของเขาอยู่ดี”

Perspective

Perspective

Young Adult

Young Adult

Shenanigans

Shenanigans

Shenanigans

Shenanigans

Shenanigans

Shenanigans

Shenanigans

Shenanigans

Shenanigans

Shenanigans

ถวิกา สว่างวงศากุล
Thavika Savangwongsakul

ถวิกา สว่างวงศากุล
Thavika Savangwongsakul